การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์

รายละเอียด การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์

  • ดูตาราง/สถานที่คอร์สอบรม คลิก

รายละเอียดคอร์สอบรม



การศึกษาความเป็นไปได้เพื่อการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์

การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ระดับจุลภาคประกอบด้วยปัจจัย 4 ประการก็คือ ความเป็นไปได้ทางกายภาพ ความเป็นไปได้ทางข้อกฎหมาย ความเป็นไปได้ทางการตลาด และความเป็นไปได้ทางการเงิน

สามารถแยกแยะการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในกาารพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในระดับจุลภาคไว้ 4 ข้อใหญ่ๆ ได้ดังนี้

หลักสูตร ศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินโครงการอสังหาฯ Cash Flow (RE121)

รุ่นที่ 65, วันพุธที่ 15 - เสาร์ที่ 18 มกราคม 2563 เวลา 08:30 - 17:00 น.

กายภาพ

 การศึกษาความเป็นไปได้ทางกายภาพมีความสำคัญ เช่น ในกรณี

น้ำท่วม ทำให้บางพื้นที่ไม่อาจก่อสร้างได้

ไม่มีน้ำประปา – น้ำบาดาล ทำให้ความเป็นไปได้ในการสร้างที่อยู่อาศัยลดลง หรือต้นทุนในการอยู่อาศัยสูงขึ้น

ไม่มีไฟฟ้า โดยเฉพาะในโครงการที่ร้าง ทำให้ผู้ลงทุนเข้าอยู่อาศัยในโครงการไม่ได้ แม้จะมีสาธารณูปโภคอื่นก็ตาม

 แผ่นดินทรุด ทำให้การก่อสร้างมีความเป็นไปได้ลดลง หรือเสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ส่งผลลบต่อมูลค่าที่ดิน

ปกติแล้วความเป็นไปได้ทางกายภาพไม่ค่อยมีความจำเป็น เพราะในเขตเมืองมักมีความเป็นไปได้สำหรับการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์อยู่แล้ว ประเด็นที่กล่าวข้างต้นนี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาในเขตนอกเมือง เป็นสำคัญ

กฎหมาย

 มูลค่าของอสังหาริมทรัพย์จะแตกต่างกันในตัวเองอย่างมีนัยสำคัญเพียงเพราะข้อกำหนดทางกฎหมาย เช่น

กรณีที่ดินตั้งอยู่คนละฝั่งถนนราคาก็แตกต่างกันเพราะผังเมืองกำหนดการก่อสร้างไว้แตกต่างกัน ฝั่งหนึ่งสร้างได้เฉพาะบ้านเดี่ยว อีกฝั่งหนึ่งอาจก่อให้สร้างอาคารพาณิชย์ได้ เป็นต้น

กรณีแฟลตหรือห้องเช่า อาจมีราคาต่ำกว่าอาคารโรงแรมเพราะไม่สามารถใช้สอยได้เข้มข้นเท่า หรือในกรณีเป็นสถานอาบอบนวด ก็ยิ่งมีการใช้สอยต่อเนื่องที่เข้มข้นยิ่งขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับใบอนุญาตใช้อาคารที่แตกต่างกันในทางกฎหมายนั่นเอง

ในปัจจุบันพื้นที่หลายแห่งมีข้อกำหนดและข้อจำกัดต่าง ๆ ในการก่อสร้าง เช่น ห้ามสร้างอาคาร (สูง) รอบสถานที่สำคัญ ห้ามก่อสร้างอาคารในระยะ 15 เมตรแรกบนถนนบางสาย มีข้อกำหนดพื้นที่ก่อสร้างต่อพื้นที่ดิน (Building Coverage Ratio) และข้อกำหนดการก่อสร้างตามขนาดที่ดิน (Floor Area Ratio) เป็นต้น

ตลาด

 ประเด็นหนึ่งที่ชี้ขาดความเป็นไปได้หรือไม่ของโครงการอสังหาริมทรัพย์ก็คือความเป็นไปได้ทางการตลาด กล่าวคือ โครงการอสังหาริมทรัพย์เป็นที่ต้องการของตลาดในพื้นที่และในห้วงเวลาของการศึกษาหรือไม่ หากไม่มีความเป็นไปได้ ก็ไม่ควรดำเนินการโครงการนั้น ๆ ต่อไป เพราะจะไม่ประสบความสำเร็จ ในเชิงรูปธรรม ความเป็นไปได้ทางการตลาดหมายถึงการวิเคราะห์อุปสงค์และอุปทานเพื่อการคาดการณ์ความสมดุลและโอกาสการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ

 อาจกล่าวได้ว่า สินค้าในทำเลต่าง ๆ ที่ขายดี ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งก็คือการมีรถไฟฟ้า หากมีรถไฟฟ้ามากขึ้น ก็ยิ่งทำให้มีโอกาสสร้างที่อยู่อาศัยมากขึ้น ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยไม่ถีบตัวสูงขึ้นนัก เพราะมีทำเลใหม่ ๆ ให้เลือกนั่นเอง นอกจากนี้ บ้านที่ขายในระดับราคาที่ไม่แพงนัก เหมาะสมกับทำเลและประเภทที่อยู่อาศัย ย่อมขายได้ดี มีลูกค้ามาก นัยนี้แสดงถึงความเป็นไปได้ทางการตลาดของอสังหาริมทรัพย์

การเงิน

ความเป็นไปได้ทางการเงินเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ประกอบด้วยการวิเคราะห์รายได้ รายจ่าย อัตราผลตอบแทน และระยะเวลาดำเนินโครงการ

ที่มา : ดร.โสภณ พรโชคชัย

[Tag] : นิติบุคคล , บ้านจัดสรร , อาคารชุด , การเงิน , การเงินอสังหา , ความเป็นได้ของโครงการ , พัฒนาโครงการ , ความเป็นไปได้ทางการเงิน , Project Feasibility Study



ตาราง/สถานที่คอร์สอบรม



รอบ วันอบรม เวลา สถานที่
1 พุธที่ 15 ม.ค. 2020 - เสาร์ที่ 18 ม.ค. 2020 08:30 - 17:00 น. โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย

ข้อมูลอบรม

  • รหัสคอร์สอบรม: ABR-1911-0054
  • ประเภทการอบรม: อบรมทั่วไปโดยบริษัท/หน่วยงาน
  • จำนวนผู้เข้าชม: 638
  • หมวดหมู่: การศึกษา / หัวข้ออบรมอื่นๆ
  • คำค้นหา: นิติบุคคล , บ้านจัดสรร , อาคารชุด , การเงิน , การเงินอสังหา , ความเป็นได้ของโครงการ , พัฒนาโครงการ , ความเป็นไปได้ทางการเงิน , Project Feasibility Study

ข้อมูลติดต่อ

  • ชื่อวิทยากร/หน่วยงาน/บริษัท: โรงเรียนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย
  • ชื่อผู้ติดต่อ: คุณเล็ก สัญชัย
  • เบอร์มือถือ: -
  • เบอร์โทรอื่นๆ: 022952294
  • อีเมล: lek@trebs.ac.th
  • เว็บไซต์: -
  • LINE Id: @Trebs

คอร์สอบรมที่คุณน่าจะสนใจ